แบบบ้านสองชั้น

แบบบ้านสองชั้น

แบบบ้านสองชั้น

แบบบ้านสองชั้น นปัจจุบันถึงแม้รูปแบบของอาคารบ้านและที่อยู่อาศัยจะมีอยู่หลากหลายลักษณะให้เลือกสรรและก่อสร้าง แต่ลักษณะของอาคารบ้านสูงสองชั้นก็ยังคงเป็นตัวเลือกแบบต้นๆของเจ้าบ้านและครอบครัวในการก่อสร้างบ้านหลังแรกของตน เนื่องด้วยลักษณะของตัวอาคารที่มีขนาดความสูงซึ่งเป็นที่คุ้นเคยเราๆท่านๆ ทั้งจากแบบบ้านสมัยดั้งเดิมของไทยที่เป็นบ้านยกพื้นสูง หรือแบบบ้านโมเดิร์นสมัยใหม่ที่สร้างด้วยคอนกรีต ก็มักปรากฏในรูปแบบของอาคารสูงสองชั้นทั้งสิ้น 427 House ปิดเพื่อเปิดสู่โลกแห่งศิลป์ภายใน

จากบ้านสู่งานศิลป์

แบบบ้านสองชั้น

บ้านในนิยามของแต่ละคนต่างออกไปตามสิ่งที่ฝันหรือคาดหวังจะให้มี สำหรับบางคนบ้านเป็นพื้นที่ความทรงจำ แต่กับบางคนบ้านทำได้มากกว่าการเป็นที่อยู่อาศัย อาจจะเป็นครัวของเชฟ Home Cook หรือ Gallery ที่เก็บสะสมและโชว์ผลงานศิลป์ที่ชื่นชอบ เหมือนเช่นโปรเจ็คบ้าน 427 House หลังนี้ ที่ออกแบบโดย Maincours Architects ภายนอกดูเป็นบ้านมีรั้วรอบขอบชิดดูปิดจากสายตาผู้คน แต่กลับเปิดข้างในได้อย่างเป็นอิสระให้เห็นตัวตนในอีกด้านที่เต็มไปด้วยความโปร่ง เบา งดงามด้วยแนวคิดสถาปัตยกรรมพร้อมพื้นที่โชว์งานศิลปะที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่เหมือนบ้านหลังไหนครับ

บ้านหลังนี้สร้างอยู่ในพื้นที่กรุงเทพบ้านเรานี่เอง ตัวอาคารถูกสร้างขึ้นในบริเวณที่ดินที่มีอยู่ของบ้านหลังเก่า ซึ่งจะมีภาพความทรงจำย้อนหลังที่น่าจดจำของครอบครัว MAINCOURSE จึงใช้จุดนี้เป็นหนึ่งแรงบันดาลใจในการดีไซน์อย่างเคารพและระลึกถึงความทรงจำอันล้ำค่า โดยใช้การหุ้มผิวผนังด้วยกระเบื้องดินเหนียวเผา สำหรับส่วนหน้าของมวลอาคารที่ลอยอยู่ ซึ่งชวนให้นึกถึงบ้านที่ครอบครัวเคยอาศัย อีกส่วนหนึ่งใส่ตัวตนแท้ ๆ แบบสมัยใหม่ผสมเข้าไป อาทิ แผงผนังคอนกรีตเรียบ ที่ดูจริงใจ หนักแน่น

แบบบ้านสองชั้น

โครงสร้างบ้านในชั้นล่างนั้นจะโดดเด่นด้วยวัสดุแผ่นคอนกรีตขนาดใหญ่ ในขณะที่ชั้นบนจะใช้โครงสร้างเหล็กแบบถักเป็นหลัก แล้วห่อหุ้มภายนอกด้วยแผ่นดินเผา ซึ่งทำจากดินเหนียวผสมพิเศษเผาที่อุณหภูมิกว่า 1,220 องศาเซลเซียส เป็นผลงานที่สถาปนิกทำงานร่วมกับ โม จิรชัยสกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านดินเหนียวและแก้ว ออกแบบมาให้ใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอก ตั้งแต่หลังคาจนถึงห้องน้ำ ดังนั้นจึงต้องทนทานกับทุกสภาพอากาศและให้สัมผัสที่เป็นมิตรในเวลาเดียวกัน รีโนเวทบ้าน 2 ชั้น

เจ้าของได้รวบรวมงานศิลปะโบราณ แจกัน หีบ และประติมากรรมที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของครอบครัวไว้มากมาย งานศิลปะเหล่านี้จัดแสดงอยู่ในทุกห้องของบ้านหลังเก่า สำหรับพื้นที่ใหม่นี้ MAINCOURSE ตั้งใจออกแบบวิธีการนำเสนอสิ่งเหล่านี้ใหม่ ผ่านการวางผังบ้านทิศและมุมมองที่ชัดเจนโดยไม่ต้องผ่านเข้าสู่ตัวบ้าน ด้วยการนำชิ้นงานต่างๆ มาจัดวางบริเวณชั้นบน ที่ออกแบบมาให้เป็นห้องกระจกล้อมคอร์ทยาร์ด เป็น ‘แกลเลอรีลอยตัว’ โดยใช้เสา 6 เสาเหล็กและเหล็กถักเป็นโครงสร้างที่ทำให้ตัวอาคารลอยอยู่เหนือระเบียงและความเขียวขจี

แบบบ้านสองชั้น

อาคารคอลเลกชันศิลปะนี้สามารถชื่นชมได้จากทุกพื้นที่ที่สำคัญของบ้าน โดยที่ยังไม่ต้องก้าวเข้าไปในตัวอาคาร สร้างประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครให้กับเจ้าของและเป็นการต้อนรับแขกที่ทางเข้าอย่างน่าประทับใจ ในใจกลางห้องกระจกมีช่องว่างเพดานสูงเหนือแกลเลอรี วอลล์เปเปอร์สีชมพูลายป่า และความเขียวขจีที่ด้านล่างประสานรวมกันสร้างบรรยากาศของแกลเลอรี่กลางแจ้งให้ยิ่งน่าสนใจ ผนังสีขาวขับเน้นงานแสดงที่ใส่กรอบขนาดต่างๆ ให้โดดเด่น กระจกใสอนุญาตให้แสงธรรมชาติสามารถส่องลงบนงานศิลปะและกลมกลืนกับบรรยากาศโดยรวมในที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำงาน

แบบบ้านสองชั้น

วัสดุของบ้านหลังนี้สะท้อนถึงความเป็นแฟชั่นนิสต้าที่มีเอกลักษณ์ ทั้งความทันสมัยในเส้นสาย​​และสีสันตลอดการออกแบบ การผสมผสานระหว่างเฟอร์นิเจอร์โบราณและเฟอร์นิเจอร์ใหม่ ๆ ที่เหมือนกำลังแสดงเรื่องราวการอยู่ร่วมกันของครอบครัวและคาแร็กเตอร์ของเจ้าของในทุกตารางเมตร

บ้านสองชั้นมีดีอย่างไร?

รูปลักษณ์อาคารที่เป็นที่คุ้นเคย

ในปัจจุบันถึงแม้รูปแบบของอาคารบ้านและที่อยู่อาศัยจะมีอยู่หลากหลายลักษณะให้เลือกสรรและก่อสร้างบ้าน แต่ลักษณะของอาคารบ้านสูงสองชั้นก็ยังคงเป็นตัวเลือกแบบต้นๆของเจ้าบ้านและครอบครัวในการก่อสร้างบ้านหลังแรกของตน เนื่องด้วยลักษณะของตัวอาคารที่มีขนาดความสูงซึ่งเป็นที่คุ้นเคยเราๆท่านๆ ทั้งจากแบบบ้านสมัยดั้งเดิมของไทยที่เป็นบ้านยกพื้นสูง หรือแบบบ้านโมเดิร์นสมัยใหม่ที่สร้างด้วยคอนกรีต ก็มักปรากฏในรูปแบบของอาคารสูงสองชั้นทั้งสิ้น 

ความโอ่อ่าของตัวบ้านที่ให้ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยและเป็นที่พึ่งพิงทางกายและใจของคนในครอบครัว

และจากลักษณะภายนอกของสถาปัตยกรรมที่มีความสูงสองชั้นนี้ ยังส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึกของผู้พบเห็นยามได้มอง เนื่องด้วยความสูงสองชั้นของบ้าน (6 เมตรเป็นต้นไป) ทำให้สัมผัสการรับรู้รู้สึกได้ถึงความปลอดภัยและเป็นพื้นที่สำหรับพักพิง ทั้งยังแลดูมีความมั่นคงแข็งแรงและอาจหมายรวมถึงการบ่งบอกของลักษณะคุณภาพชีวิตของครอบครัวนั้นๆได้อีกด้วย

การจัดสรรพื้นที่ที่แบ่งสัดส่วนได้ดีกว่าแบบบ้านชั้นเดียว

แน่นอนว่าพอพื้นที่บ้านถูกเพิ่มส่วนการใช้สอยให้มีระดับที่สูงขึ้นไปอีกหนึ่งชั้น พื้นที่ใช้สอยจึงสามารถทำการแบ่งสัดส่วนได้ทั้งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและบรรยากาศของพื้นที่ใช้สอย ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ส่วนที่เป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนรวมของครอบครัวหรือเป็นส่วนที่คนนอกสามารถเข้าถึงได้ก็จะถูกจัดไว้ที่ชั้นล่าง

ส่วนพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนตัวจะมีการถูกจัดสรรไว้อย่างมิดชิดที่ชั้นบน โดยมีโถงบันไดเป็นส่วนเชื่อมต่อของพื้นที่ทั้งสองระดับชั้น หรืออีกกรณีหนึ่งคือพื้นที่ที่อาจมีการใช้งานที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ส่วนอื่นๆเช่นห้องครัวและซักล้างที่อาจมีกลิ่น ควันและความชื้น หากมีการแยกส่วนให้อยู่ที่ชั้นล่างก็จะสะดวกต่อการดูแลรักษาความสะอาด หรือพื้นที่ห้องทำงานซึ่งต้องการบรรยากาศที่เงียบสงบก็ควรถูกจัดอยู่บนพื้นที่ชั้นสองเพื่อความเป็นส่วนตัวนั่นเอง