บ้านสไตล์มินิมอลชั้นเดียว
บ้านสไตล์มินิมอลชั้นเดียว ‘Minimal Style’ แต่งบ้าน สไตล์มินิมอล ที่กําลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ คือสไตล์การตกแต่งที่เรียบง่าย ใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น หากแต่มากด้วยประโยชน์ รวมไปถึงการเลือกใช้งานสิ่งต่างๆ ตามความจําเป็นเท่านั้น ซึ่งจะถูกจัดวางอย่างมีระเบียบเรียบร้อย เอกลักษณ์ในการตกแต่งสไตล์มินิมอลนั้นมักจะมีโทนสีแบบโมโนโทนหรือสีอ่อนๆ
รวมถึงการออกแบบที่มีเส้นสายตาที่ตรงและชาร์ป มีความสมดุลและความผ่อน คลาย เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นที่คัดสรรมาตกแต่งในบ้านสไตล์นี้ มักจะตอบสนองการใช้งานได้อย่างครบถ้วน ท่ามกลางความไม่มากไม่น้อยจนเกินพอดี การตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอลยังนิยมที่จะจัดพื้นที่สเปสให้มีความว่างและดูกว้างเข้าไว้
โดยไม่นิยมการสะสมสิ่งของหรือข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่จําเป็น การตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอลจึงดูเรียบง่าย น้อยชิ้น แต่ทว่าครบถ้วนในเรื่องของประโยชน์การใช้สอย การตกแต่งบ้านสไตล์นี้จึงเหมาะมากๆ สําหรับหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่รักความสงบและชอบการตกแต่งบ้านที่เน้นความสะอาด ปลอดโปร่ง โล่งสบายเป็นอย่างยิ่ง เราไปดูกันดีกว่าว่าข้อดีของการมีบ้านสไตล์มินิมอลและวิธีการตกแต่งบ้านของคุณให้เป็นสไตล์นี้ จะมีอะไรและต้องทําอย่างไรบ้าง
บ้านสไตล์มินิมอล สามเหลี่ยมข้าวปั้น ผนังสองชั้นกันเสียงรถไฟ
รูปแบบของบ้านในญี่ปุ่น บางครั้งเราก็รู้สึกตื่นตะลึง เพราะคาดไม่ถึงว่าจะคิดและทำได้ขนาดนี้ อย่างเช่น บ้านที่โปร่งใสมองเห็นทะลุข้างใน บ้านดีไซน์หลังคาพับไปมาเหมือนกระดาษโอริงามิ หรือบ้านที่ดูล้ำสมัยเหมือนอยู่ในยานอวกาศ แต่บทที่จะน้อย เรียบ ธรรมดา ก็ง่ายเสียจนตัดรายละเอียดที่เราคุ้นออกไปจนหมด เหลือเพียงรูปทรงเรขาคณิตที่คมชัดและภายในที่โปร่งสว่าง บ้านหลังนี้ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานออกแบบบ้านสไตล์โมเดิร์นมินิมอลที่ดูเรียบง่าย แต่สะดุดตาทีหลังคาจั่วแหลมคล้ายข้าวปั้นห่อสาหร่ายที่เป็นอาหารโปรดของชาวญี่ปุ่น
บ้านพื้นที่ใช้สอย 113 ตารางเมตรหลังนี้ สร้างในเมืองโอกากิ จังหวัดกิฟุ ประเทศญี่ปุ่น ภายนอกมีลักษณะหลังคาจั่วแหลมไร้ชายคาช่องแสงเล็ก ๆ ในสไตล์โมเดิร์นมินิมอลที่เรียบง่าย ตัวบ้านวางกลางชุมชนที่รายล้อมด้วยบ้านร่วมสมัยและอาคารแบบญี่ปุ่นโบราณ ด้วยสีและรูปทรงทำให้แม้บ้านจะดูเด่นแต่ไม่โดดจนประหลาดเกินไป ความพิเศษของบ้านนอกจากดีไซน์ภายนอกแล้ว ภายในยังออกแบบระบบฉนวนป้องกันเสียงรบกวน เพราะบริเวณนี้เป็นทางผ่านรถไฟสองรางที่วิ่งผ่านตลอด จึงต้องกันให้กันเสียงมากที่สุด
จากภายนอกดูเหมือนบ้านไม่มีชายคา ในความเป็นจริงสถาปนิกออกแบบให้ผนังบ้านด้านข้างขยับลึกเข้าไปด้านใน ทำให้มีส่วนหลังคาที่ยื่นออกมาปกป้องตัวบ้านจากแดดและฝนอยู่ ส่วนทางเข้าก็เชื่อมต่อกับภายนอกได้ง่ายผ่านประตูบานเลื่อนกรอบไม้บานใหญ่ ต่างจากอีกด้านที่ดูเรียบแทบไม่มีช่องเปิด เพื่อปิดเป็นส่วนตัวและช่วยกันเสียง
ถ้ามองไกล ๆ จะรู้สึกว่าบ้านเป็นชั้นเดียวสูงๆ เนื่องจากอาคารดูเรียบเป็นก้อนเดียว แต่เมื่อเข้ามาในบ้านจะเห็นว่าเป็นบ้านสองชั้น มีห้องนั่งเล่นที่โปร่งโล่งเชื่อมต่อกับด้านนอก เป็นสเปซว่างๆ และประตูบานกระจกก่อนเข้าถึงพื้นที่ใช้ชีวิตหลัก ๆ ของบ้าน ทำให้บ้านเหมือนมีปราการ 2 ชั้น ซึ่งวิธีนี้จะช่วยปิดกั้นเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดีขึ้น และยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของฉนวนกันความร้อน พร้อมกับให้รู้สึกว่าบ้านมีระดับของความเป็นส่วนตัว รักษาความปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างเปิดในบางจุดของบ้าน
ภายในบ้านเปิดโล่งด้วยโถงสูง double space และแปลนแบบ open plan การเชื่อมต่อสเปซว่างๆ ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ก่อให้เกิดความสบายทั้งในแง่ของสายตาและการใช้งาน สถาปนิกเลือกใช้สีขาวที่เติมความสว่างและกว้างขวาง แต่ก็ไม่ได้ปล่อยให้ความเรียบนิ่งมีมากเกินไปจนดูไร้ชีวิตชีวา ด้วยการแทรกเติมงานไม้สักเข้าไปในส่วนของพื้น เฟอร์นิเจอร์ กรอบประตูหน้าต่าง จึงสามารถสัมผัสได้ถึงความอบอุ่นที่เป็นสัญลักษณ์ของครอบครัวได้ดี
พื้นที่เหลือข้างๆ ช่องว่างโถงสูง จัดสรรให้เป็นห้องนอนพักผ่อนในชั้นบน ซึ่งสามารถมองเห็นพื้นที่ใช้งานข้างล่างได้ การเดินทางของแสงและอากาศภายในก็ทำได้ง่าย เป็นหนึ่งข้อดีของการเปิดเชื่อมต่อพื้นที่ในแนวตั้ง แตกต่างจากบ้านสองชั้นทั่วไปที่มักจะปิดแบ่งระหว่างชั้นอย่างชัดเจนที่ทำให้ติดต่อสื่อสารกันยาก และทำให้บ้านมืดกว่า
ระหว่างห้องส่วนตัวชั้นบนจะมีช่องว่างที่จัดไว้ทำหน้าที่เป็นระเบียงในบ้าน และสามารถปิดและเปิดประตูกระจกได้ เพื่อขยายการใช้งานห้องส่วนตัวแต่ละห้องให้กลายเป็นห้องใหญ่ ทำให้เกิดความรู้สึกเปิดกว้าง มีช่องทางรับแสงสว่าง แต่ก็ยังมีความสงบและอบอุ่น ไม่มีสิ่งเกินจำเป็นชวนให้พักผ่อน
เสียงรบกวนจากภายนอก เป็นหนึ่งมลพิษที่ทำลายความสงบในบ้าน ทำให้การอยู่อาศัยไม่สบาย เราอาจจะป้องกันและแก้ไขปัญหาเสียงได้หลายรูปแบบ อาทิ การก่อผนังบ้านแบบ 2 ชั้น โดยเลือกใช้ฉนวนที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงจากภายนอกคั่นตรงกลาง, การทำพื้นที่กันชนในด้านที่รับแสียง เหมือนบ้านนี้ที่ทำห้องโถงมีประตูกระจกกั้นก่อนเข้าถึงพื้นที่ใช้งานภายใน, การติดฝ้าเพดาน ยิ่งหากบนฝ้ามีฉนวนกันร้อนด้วย ก็จะเพิ่มคุณสมบัติการซับเสียงได้ด้วย อย่าลืมเช็คซีลขอบยางประตูหน้าต่างก็ต้องดูให้แนบสนิท
10 ข้อดีของการแต่งบ้านแบบมินิมอล Minimal Style
1.เฟอร์นิเจอร์ต้องน้อยชิ้น มีเท่าที่จำเป็น
2.น่าดึงดูด ดูสบายตา
3.ทำความสะอาดได้ง่าย
4.พื้นที่วางของดูสะอาดเรียบร้อย
5.ใช้โทนสีอ่อนหรือโมโนโทนให้ดูสบายตา
6.มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
7.ตอบสนองการใช้งานจริง ฟังก์ชั่นการใช้งานครบ
8.ปลอดโปร่ง โล่งสบาย
9.คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ
10.เหลือพื้นที่ว่างๆไว้
‘Less is More’ วลีสั้น ๆ ที่ได้ยินแล้วนึกถึงบ้านสไตล์มินิมอล พบกับบ้านสไตล์มินิมอล 15 แบบที่ใช้งบไม่เยอะแถมยังสวยงามเป็นระเบียบอีกด้วย
ในปัจจุบันที่อยู่อาศัยของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสไตล์ ทั้งโมเดิร์น ลอฟต์ บ้านทรงไทยและอื่น ๆ อีกมากมาย และบ้านที่เราจะมาพูดถึงก็เกี่ยวข้องกับวลีที่ว่า ‘Less is More’ วลีสั้น ๆ ที่ได้ยินแล้วนึกถึง บ้านมินิมอล ซึ่งมีความเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยความเก๋ไก๋และหรูหราจนมัดใจนักออกแบบบ้านหลายคนได้ ซึ่งเอกลักษณ์ของบ้านสไตล์นี้คือการใช้งานอย่างเป็นประโยชน์โดยใช้เฟอร์นิเจอร์เพียงไม่กี่ชิ้นทำให้ดูเรียบแต่มีคุณค่านั่นเอง
ข้อดีของบ้านสไตล์มินิมอล
การมีบ้านสไตล์มินิมอลมีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวันหรือความสวยงาม ที่เป็นเอกลักษณ์และช่วยให้เรามีความสุขได้ ดังนี้บ้านจัดสรร
บ้านมีเอกลักษณ์และน่าดึงดูด
ถึงแม้ว่าจะดูเรียบง่ายไม่มีอะไร แต่บ้านสไตล์มินิมอลก็เป็นบ้านที่แฝงไปด้วยความสวยงามสะอาดตาให้หลายคนสงสัยกันว่า มีการจัดระเบียบบ้านอย่างไร และยิ่งมีเฟอร์นิเจอร์สวย ๆ เรียบ ๆ หรืองานศิลปะเก๋ ๆ สักภาพ ก็สามารถเพิ่มความน่าสนใจได้ไม่น้อยเลย
ลดความเครียดให้กับผู้อาศัย
ถ้าอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ก็จะทำให้เกิดความเครียดได้มากขึ้น ซึ่งบ้านก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ทุกคนต้องใช้เวลาอยู่กับมันมากที่สุด และการมีบ้านที่รกก็ยังเพิ่มความขุ่นหมองในจิตใจและความเครียดได้ ซึ่งด้วยเอกลักษณ์ของบ้านสไตล์มินิมอลที่เรียบง่ายแต่หรูหรานี่แหละ ที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างสบาย ๆ เลยทีเดียว
ทำความสะอาดง่าย
การจัดของให้เรียบร้อยน่าจะเป็นเรื่องที่ทั้งเหนื่อยและเสียเวลา เพราะยิ่งบ้านที่รกรุงรังไม่เป็นระเบียบก็ทำให้ผู้อยู่อาศัยต้องใช้เวลาในการปัด กวาด เช็ด หรือถูนานขึ้นไปอีก แถมใช้เวลานานในการเคลื่อนย้ายของอีกด้วย ดังนั้นการมีบ้านสไตล์มินิมอลก็สามารถทุ่นแรงและเวลาได้มาก ๆ
จุดเด่น บ้านมินิมอล
จุดเด่นหลัก ๆ ของบ้านสไตล์มินิมอลนั่นก็คือ การแต่งบ้านแบบเรียบง่ายแต่หรูหรามีสไตล์ โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยมากกว่าบ้านสไตล์อื่น ๆ มีหลักการออกแบบจากเส้นตรงให้ดูเรียบที่สุดนั่นเอง ซึ่งเห็นได้จากเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านที่น้อยชิ้น และแต่ละชิ้นก็เรียบง่ายแต่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง หรือจะเป็น เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถใช้สอยประโยชน์ ได้จากฟังก์ชันที่แอบอยู่ เช่น การใช้กระจกที่มีชั้นวางของด้านใน หรือห้องใต้พื้นบ้านที่ส่งผลให้เกิดเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของบ้านสไตล์มินิมอลที่สำคัญคือ การมีพื้นที่บ้านที่สะอาดและเรียบร้อยนั่นเอง
เทคนิคแต่งบ้านสไตล์มินิมอล
ถ้าจะบอกว่าการแต่งบ้านสไตล์มินิมอลให้สวยงามเป็นเรื่องที่ยากก็คงพูดได้อย่างเต็มปากว่า ไม่จริง เพราะเพียงแค่มีเคล็ดลับและการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ สี และของตกแต่งอย่างละเอียดถี่ถ้วน บ้านธรรมดาก็สามารถกลายเป็นบ้านสไตล์มินิมอลได้ ซึ่งเคล็ดลับการตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอลสามารถแบ่งออกเป็นหลักการต่าง ๆ ได้ดังนี้บ้านจัดสรร
เลือกเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นและมีประโยชน์
อย่างที่รู้กันว่าเอกลักษณ์สำคัญของบ้านสไตล์มินิมอล คือบ้านที่เรียบร้อยสะอาดตา ทำให้การตกแต่งบ้านสไตล์นี้ต้องลดทอนเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่จำเป็นออกไป โดยเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์จำเป็น อย่างเตียงหรือราวตากผ้า ทำให้บ้านดูสะอาดและเรียบร้อย ซึ่งเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้ควรเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มีประโยชน์ใช้สอย เช่น ตู้หรือพื้นที่คัดแยกของใช้ต่าง ๆให้เป็นระเบียบนั่นเอง
เว้นพื้นที่ว่าง
เมื่อเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นให้เหลืออยู่แล้ว การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องต่าง ๆ ก็ต้องจัดวางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อให้มีพื้นที่เหลือมากที่สุด โดยต้องจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยตามหลักการของคุณมาริเอะ คอนโดะ ใน แต่ก็ต้องระวังอย่าให้บ้านของคุณว่างเปล่าเกินไปจนบ้านของคุณไม่เป็นบ้านสไตล์มินิมอลอีกต่อไป
เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีดีไซน์เรียบ
ความเรียบง่าย ก็ยังเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบ้านสไตล์มินิมอล และการที่จะเกิดความเรียบง่ายภายในบ้านได้ เช่น การใช้ประตูบานเลื่อน หรือการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีดีไซน์เรียบง่ายและทำจากไม้ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้บ้านเรียบง่ายขึ้นได้ เพราะการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีลวดลายเกินไปทำให้เกินความจำเป็นและพอดี ซึ่งขัดกับคอนเซ็ปต์ของบ้านสไตล์มินิมอลนั่นเองcheck here