ออกแบบห้องนอนผู้สูงอายุ

ออกแบบห้องนอนผู้สูงอายุ ห้องนอนผู้สูงอายุ เป็นสถานที่ ที่ต้องให้ความสำคัญ และใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะห้องนอนเป็นที่สำหรับการนอนหลับพักผ่อน และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักใช้เวลาอยู่ในห้องนอนมากที่สุด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ร่างกาย ไม่ค่อยแข็งแรง

ห้องนอนจึงเป็นมากกว่าสถานที่ ในการนอนหลับพักผ่อน ห้องนอนอาจเป็นห้องน้ำ เป็นห้องนั่งเล่น หรือเป็นห้องสำหรับทานอาหาร ดังนั้นห้องนอนผู้สูงอายุ จึงต้องใส่ใจในรายละเอียด มากกว่าห้องนอนทั่วไป ตั้งแต่ความสะดวกสบาย ไปจนถึงความปลอดภัย แบบห้องนอน ที่เหมาะสม

ออกแบบห้องนอนผู้สูงอายุ

มารู้จักห้องนอนผู้สูงอายุ

ออกแบบห้องนอนผู้สูงอายุ

1.ตำแหน่งและพื้นที่ใน ห้องนอนผู้สูงอายุ
ห้องนอนผู้สูงอายุที่เหมาะสม ควรตั้งอยู่บริเวณชั้นล่างของบ้าน เพื่อที่ผู้สูงอายุจะได้ไม่ต้องเดินขึ้น – ลงบันไดบ่อย ๆ และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ จากการพลัดตกบันได และห้องนอนควรตั้งอยู่ใกล้ ๆ ห้องน้ำ หรือมีห้องน้ำอยู่ในห้องนอน เพื่อความสะดวกในการใช้งานของผู้สูงอายุ โครงการวิลล่า

สำหรับผู้สูงอายุหนึ่งคน ห้องนอนควรมีพื้นที่อย่างน้อย 10 -12 ตร.ม. และผู้สูงอายุสองคน ห้องนอนควรมีพื้นที่ 16 – 20 ตร.ม. เพื่อให้มีพื้นที่เหลือ สำหรับการทำกิจกรรมงานอดิเรกต่าง ๆ และวางอุปกรณ์ในการดูแล โดยพื้นที่ว่างรอบเตียงทั้งสามด้าน ควรมีความกว้างอย่างน้อย 90 cm และมีพื้นที่สำหรับ กลับรถเข็นวีลแชร์อย่างน้อง 150 cm

เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ภายในห้องนอน ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลย เช่นตู้เสื้อผ้า ตู้ข้างเตียง โต๊ะข้างเตียง ควรเลือกใช้แบบที่ไม่มีเหลี่ยมแหลมคม ป้องการการได้รับบาดเจ็บ จากการชน

ออกแบบห้องนอนผู้สูงอายุ

2.เตียงนอน
เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว เตียงนอนที่เหมาะสมที่สุด คือ เตียงเดี่ยว เพราะจะช่วยให้การขยับพลิก ตัวลงจากเตียงได้สะดวกกว่าเตียงนอนแบบคู่ ที่ผู้สูงอายุต้องใช้แรงดันตัวใน การลุกจากเตียง ซึ่งอาจส่งผลให้ปวดกล้ามเนื้อได้ โดยขนาดเตียงนอนที่เหมาะสม

ควรมีความยาวอย่างน้อย 180 cm และความกว้างด้านข้างอย่างน้อย 90 cm ความสูงของเตียงที่เหมาะสม ควรอยู่ในระดับข้อพับเข่าของผู้สูงอายุ หรือระดับที่เท้าของ ผู้สูงอายุสามารถสัมผัสพื้นได้พอดี (ไม่เกิน40 cm)

และเพื่อความสะดวก และความปลอดภัย ควรติดตั้งราวกันตกข้างเตียง หรือเลือกเตียงที่มีราวกันตก เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ พลัดตกเตียง และใช้เป็นที่จับในการพลิกตัว หรือพยุงตัวเวลาลุกจากเตียงได้

3.ประตู หน้าต่างและพื้นผิวใน ห้องนองผู้สูงอายุ

  • ประตูห้องนอน ควรมีความกว้างโดยประมาณ 30 – 32 นิ้ว เพื่อให้รถเข็นวีลแชร์ สามารถเข้าออกได้สะดวก ลูกบิดประตูควรใช้แบบชนิดก้านโยก เพื่อที่ผู้สูงอายุจะได้ไม่ต้อง ออกแรงมากในการเปิด อาจใช้เป็นประตูบานเลื่อน หรือประตูแบบผลัก และเลือกแบบที่ไม่มีรางบน พื้นป้องกันการสะดุด
  • มีหน้าต่างที่สามารถมองเห็นวิว และรับแสงแดดเข้ามาภายในห้องได้ เพื่อบรรยากาศภายใน ห้องดูผ่อนคลาย และช่วยในการระบายอากาศ
  • ภายในห้องนอนใช้โทนสีสว่าง พื้นห้องนอนควรมีพื้นผิวเรียบ ไม่ลื่น อาจติดตั้งวัสดุพื้นลดแรงกระแทก เพื่อให้ผู้สูงอายุเดินได้อย่างมั่นคง และไม่ควรมีพื้นต่างระดับหรือปูพรม เพื่อป้องกันการสะดุดหกล้ม

ไอเดีย จัดห้องนอนผู้สูงอายุ อยู่สบาย ลูกหลานอุ่นใจ

จัดห้องนอนผู้สูงอายุ อยู่สบาย ลูกหลานอุ่นใจ

นอกจาก การจัดห้องนอน ให้อยู่บริเวณชั้น 1 แล้ว การจัดสภาพแวดล้อมภายใน ห้องให้เหมาะสมสำหรับ ผู้สูงวัยเองก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น ไปดูพร้อมกันในบทความนี้

1.การจัดแสงสว่างภายในห้อง
ห้องนอนผู้สูงอายุควร ออกแบบให้มีช่องแสงธรรมชาติ หรือหน้าต่างในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี มองเห็นวิวภายนอกบ้าน และยังรับแสงธรรมชาติได้ตลอดวัน โดยเลือกใช้ผ้าม่าน 2 ชั้น

คือม่านทึบแสง เพื่อใช้สำหรับช่วงเวลาพักผ่อน และม่านแบบโปร่ง เพื่อช่วยกรองแสงไม่ให้ร้อนเกินไป นอกจากนี้ แสงสว่างจากหลอดไฟควรใช้ Indirect Light หรือไฟแบบซ่อน เพื่อไม่ให้แสงจ้ามากเกินไป หากติดตั้งไฟแบบ Smart light ที่สามารถเปิด-ปิด และตรวจจับความเคลื่อนไหวอัตโนมัติได้ จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

2.เตียงนอน
ควรเลือกเตียงที่ไม่มีเหลี่ยมมุม เพราะสามารถเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย ความสูงของเตียงควรอยู่ที่ประมาณ 45-50 ซม. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถนั่งและลุกขึ้นยืนได้สะดวก และเว้นที่ว่างข้างเตียงให้กว้างประมาณ 90-100 ซม. เพื่อให้มีช่องว่างในการเดินเข้า-ออก เตียง สำหรับฟูกนอนควรเลือกใช้ฟูกที่มีความนุ่มพอดี ไม่อ่อนยวบหรือแข็งจนเกินไป เพื่อรองรับสรีระผู้สูงวัยได้เหมาะสม

เลือกเตียงที่ไม่มีเหลี่ยมมุม

3.เฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง
การเลือกเฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงวัย ควรคำนึงถึงลักษณะ ทางกายภาพของผู้สูงวัย และความปลอดภัยในการใช้งานเป็นหลัก ไม่ควรใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีเหลี่ยมมุม ความสูงของเฟอร์นิเจอร์ควรอยู่ในระยะที่เอื้อมถึงพอดี หรือมีความสูงประมาณ 60-75 ซม. หากเป็นตู้หรือลิ้นชักควรมีที่จับ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถ ใช้งานได้สะดวกโดยไม่ต้องใช้แรงมาก

4.ห้องน้ำ
ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำที่ใช้ร่วมกันกับสมาชิกคนอื่นๆ ในบ้าน หรือห้องน้ำที่อยู่ภายในห้องนอนที่มีความเป็นส่วนตัว เรียกว่าเป็นห้องแรกที่ควรปรับปรุงเพื่อผู้สูงวัย เนื่องจากเป็นห้องที่เสี่ยงต่อ การเกิดอุบัติเหตุได้มากที่สุดของบ้าน นับตั้งแต่การออกแบบประตู ภายในห้องน้ำควรมีขนาดไม่เล็กเกินไป เพื่อรองรับการใช้วีลแชร์และการเคลื่อนไหวร่างกาย ติดตั้งราวจับ แยกส่วนเปียกและแห้งอย่างชัดเจน โถสุขภัณฑ์ควรสูง 45-50 ซม.

อ่างล้างมือความสูงจากพื้น 75-80 ซม. พื้นที่อาบน้ำควรมีขนาดความกว้างไม่ต่ำกว่า 1.1 เมตร มีที่นั่งอาบน้ำความสูง 45-50 ซม. อีกทั้งควรมีราวจับช่วยพยุงตัวที่มีความสูงจากพื้น 65-70 ซม. และควรเลือกวัสดุสำหรับปูพื้น ห้องน้ำให้มีค่าความเสียดทานที่เหมาะสม เช่นกระเบื้องกันลื่นเป็นต้น

ไอเดียจัดห้องนอนผู้สูงวัย

5.ประตูห้อง
หากผู้สูงวัยมีอายุมากแล้ว ควรเปลี่ยนประตูบ้านแบบธรรมดา ให้เป็นประตูบานเลื่อนแบบไม่มีธรณีประตู แต่ให้รางเลื่อนเป็นรางแขวนด้านบน เพื่อลดการใช้แรงและอุบัติเหตุ แต่หากจำเป็นต้องใช้ประตูบานเปิด ควรเลือกใช้ลูกบิดประตูเขาควาย เพราะจับสะดวกมากกว่า และควรเลือก เปิดสวิงออกไปทางนอกห้อง โดยประตูควรมีความกว้างประมาณ 90-120 ซม. รองรับการใช้วีลแชร์และคนช่วยพยุง

6.พื้นห้องและระดับพื้น
ห้องนอนของผู้สูงวัย
ไม่ควรมีพื้นต่างระดับ หรือวางพรมตกแต่ง เพราะอาจทำให้เกิดการหกล้ม หรือสะดุดคะมำได้ วัสดุปูพื้นไม่ควรเลือกวัสดุผิวลื่น แต่ควรใช้พื้นกระเบื้องที่มีค่าเสียดทาน R9 – R12 หรือพื้นลดแรงกระแทก (Absorption floor) เพื่อลดอาการบาดเจ็บจากการหกล้ม